แสงสีฟ้า (Blue Light) อันตรายกว่าที่คิด

อันตรายจากแสงสีฟ้าในบ้าน

แสงสีฟ้า (Blue Light) อันตรายกว่าที่คิด

 

          แสงสีฟ้า หรือ Blue Light มีชื่อทางการเต็มๆ ว่า High Energy Visible Lighe (เรียกย่อๆ ว่า HEV หรือ HEVIS Light) คือ แสงพลังงานสูงที่อยู่ในแสงสีขาว (Visible Light) ที่มนุษย์มองเห็นได้ แสงสีขาวนั้นแบ่งได้ 7 สีคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ซึ่งแสงสีฟ้าจะผสมอยู่ในช่วงครามกับน้ำเงิน มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-500 นาโนเมตร

แสงสีฟ้านอกจากจะเป็นอันตรายต่อดวงตาแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผิวด้วย เพราะเป็นตัวกระตุ้นผิวอักเสบ เซลล์ผิวเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ง่าย ฝ้า กระ จุดด่างดำ ผิวแก่กว่าวัย

แสงสีฟ้า

ในแสงอาทิตย์ ที่ส่องมาจะประกอบไปด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet : UV) ประมาณ 5%

ซึ่งแบ่งเป็นรังสี UVA และ UVB, รังสีที่มองเห็น (Visible light) 50%

และรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด (Infrared) อีก 45%

แสงสีฟ้ามีที่ไหนบ้าง
อันตรายจากแสงสีฟ้า

แสงสีฟ้าซ่อนตัวอยู่ที่ไหนบ้าง

  • แสงแดด
  • หน้าจอโทรศัพท์
  • หน้าจอคอมพิวเตอร์
  • หน้าจอโทรทัศน์
  • อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ
  • หลอดไฟ LED ตามบ้านเรือน หรือรถยนต์

 

แสงสีฟ้าก่อปัญหาให้ผิวอย่างไร

  • ผิวอักเสบ แพ้ง่าย ขาดความแข็งแรง
  • กระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ฝ้าแดดฝังลึก ผิวหมองคล้ำ ได้เช่นเดียวกันกับรังสี UVA และ UVB
  • ทำลายคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) ในชั้นผิว ทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ผิวหย่อนคล้อย ขาดความชุ่มชื้น เกิดริ้วรอยได้ง่าย และดูแก่กว่าวัย
  • ขัดขวางการฟื้นตัวของปราการผิว ทำให้เกราะปกป้องผิวอ่อนแอ เกิดสีผิวไม่สม่ำเสมอ
  • รบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับ นอนหลับไม่สนิท ส่งผลเสียทางอ้อมต่อผิว

ที่มา : medthai

วิตามินกันแดด

กินอะไร ให้ผิวปลอดภัยจาก แสงสีฟ้า

  • มิกซ์ แคโรทีนอยด์ จากผลปาล์ม, ดอกดาวเรือง และมะเขือเทศ ช่วยกรองแสงสีฟ้าที่จะมาทำลายผิว และดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 440-466.6 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นของแสงสีฟ้า
  • โทโคไตรอีนอล จากผลปาล์มแดง ปกป้องเซลล์ผิวจากแสงสีฟ้า โดยลดการทำลายเซลล์ และลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน